ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
ค้นหา   
นายก อบจ.ขอนแก่น

นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์
นายก อบจ.ขอนแก่น

เมนูหลัก
คลังเก็บรูปภาพ
ระบบสารสนเทศ
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค
โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล
เว็บไซด์โรงเรียนในสังกัด
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม

เจ้าของผลงาน : นายสุเทพ อ้นอมร
พฤหัสบดี ที่ 6 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563
เข้าชม : 2325    จำนวนการดาวน์โหลด : 303 ครั้ง
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง       การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
               เพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
ผู้วิจัย         นายสุเทพ อ้นอมร
หน่วยงาน     โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีการศึกษา 2562
 
บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของครูเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อเพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน และ 3) ศึกษาผลการส่งเสริมความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ระยะที่ 3 นำรูปแบบการส่งเสริมความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ไปใช้จริง ระยะที่ 4 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 1,777 คน ซึ่งเป็นนักเรียนในชั้นเรียนของครูกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วม แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบวัดเจตคติของครู และแบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows
           ผลการวิจัย พบว่า
           1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน พบว่า หลักสูตรสถานศึกษามุ่งเน้นพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา ครูมีความพยายามและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดในแต่ละชั่วโมงโดยผ่านคำถาม ส่วนใหญ่เป็นคำถามที่ให้คิดหาคำตอบเพียงถูกผิด หรือให้เหตุผลบ้าง เน้นการสอนเนื้อหาตามหลักสูตรมากกว่าการฝึกกระบวนการคิด ทั้งนี้ เนื่องจากครูไม่เคยได้เรียนรู้ หรือรับการพัฒนาการสอนคิดอย่างจริงจัง จึงทำให้ขาดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนอย่างเพียงพอในเนื้อหาสาระ วิธีการ ขั้นตอนการสอนทักษะการคิด จึงส่งผลต่อทักษะการสอนคิดขาดประสิทธิภาพ จากหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ครูส่วนใหญ่มีความต้องการได้รับการพัฒนาความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โดยครูต้องการให้มีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง และให้มีการฝึกปฏิบัติจริง จนครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนได้
           2. ผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน พบว่า เป็นแนวทางหรือวิธีการที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด วิธีการที่ถูกต้องในการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง และทักษะการสอนคิดให้แก่ครูผู้ปฏิบัติ การสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือ 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการและเหตุผล 3) จุดมุ่งหมายของการพัฒนา 4) เนื้อหาสาระ 5) กิจกรรมการพัฒนา 6) สื่อการพัฒนา และ 7) การวัดและประเมินผล โดยกิจกรรมการพัฒนา มี 2 กิจกรรม คือ
               2.1 กิจกรรมในการพัฒนาครู เป็นรูปแบบที่ใช้ในการพัฒนามีกระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ และประสบการณ์แก่ครู ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) สร้างความเข้าใจในเบื้องต้น 2) พัฒนาฝึกฝนวิธีการสอนคิด 3) นำภารกิจทักษะการคิดสู่ห้องเรียน 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้คู่การสะท้อน และ 5) ปรับเปลี่ยนการสอนอย่างยั่งยืน
               2.2 กิจกรรมในการพัฒนาผู้เรียน เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้โครงงานเป็นแนวทาง หรือวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน เป็นการจัดการเรียนรู้โดยเน้นการปฏิบัติจริงผ่านกระบวนการสืบสอบ (Process of Inquiry) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ หรือหาคำตอบ ผ่านสถานการณ์จริง ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้น คือ 1) การระบุปัญหา 2) การรวบรวมข้อมูล 3) การออกแบบโครงงาน 4) การปฏิบัติการทดสอบและปรับปรุงโครงงาน 5) การนำเสนอผลโครงงาน และ 6) การประเมินผลโครงงาน ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการส่งเสริมความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า องค์ประกอบและกระบวนการพัฒนารูปแบบ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด จุดมุ่งหมายกล่าวถึงลักษณะของผลผลิตที่มุ่งหวังอย่างชัดเจน เนื้อหาสาระมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อครู เนื้อหาสอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โดยเฉพาะรูปแบบการพัฒนาครูเป็นลำดับขั้น เอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการพัฒนา ความเป็นไปได้ในการฝึกปฏิบัติ และพบว่า รูปแบบการพัฒนานักเรียนเป็นกระบวนการที่ง่ายต่อการจัดกิจกรรม มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการปฏิบัติจริงและทักษะการคิดให้แก่นักเรียน และพบว่ากระบวนการและกิจกรรมการพัฒนาก่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการคิด ยืนยันได้จากผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ส่วนใหญ่สูงกว่าเกณฑ์
           3. สรุปการศึกษาผลการพัฒนาครูตามรูปแบบการส่งเสริมความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน พบว่า
               3.1 ผลการพัฒนาครู พบว่า หลังการพัฒนา 1) ครูมีคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 2) ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก 3) ครูแสดงพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี 4) ครูแสดงพฤติกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนแสดงออกโดยใช้ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก และ 5) ครูมีเจตคติต่อรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
               3.2 ผลการพัฒนานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 พบว่า หลังการพัฒนา นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ อยู่ในะดับดี เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์กับคะแนนหลังการพัฒนาของนักเรียน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หลังการพัฒนาสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ
           บทสรุปการวิจัย พบว่า รูปแบบการส่งเสริมความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สามารถพัฒนาครูให้มีความรู้ความข้าใจและมีทักษะในการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนได้ โดยสามารถออกแบบและจัดกิจกรมการเรียนรู้ที่นำพานักเรียนไปสู่ระดับคุณภาพการคิดในศตวรรษที่ 21 ในระดับสูงตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานได้


ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่ความยั่งยืน โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 24/มี.ค./2567
      การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนสร้างคนดีตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 18/มี.ค./2567
      การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเมืองพลพิทยาคมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) 8/มี.ค./2567
      การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 11/ก.พ./2567
      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 11/ก.พ./2567


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ wiscn@live.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป