ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
ค้นหา   
นายก อบจ.ขอนแก่น

นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์
นายก อบจ.ขอนแก่น

เมนูหลัก
คลังเก็บรูปภาพ
ระบบสารสนเทศ
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค
โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล
เว็บไซด์โรงเรียนในสังกัด
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชางานประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก (Graphic Organizer Instructional Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

เจ้าของผลงาน : นางมณเทียร สุริยา
ศุกร์์ ที่ 21 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563
เข้าชม : 2459    จำนวนการดาวน์โหลด : 318 ครั้ง
5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 1 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง      การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชางานประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
                  โดยใช้รูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก (Graphic
                  Organizer Instructional Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย         มณเทียร  สุริยา                  
โรงเรียน     พิศาลปุณณวิทยา ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
                  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
                  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย       2562
                                                                                       บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชางานประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชางานประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก (Graphic Organizer Instructional Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชางานประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก (Graphic Organizer Instructional Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชางานประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก (Graphic Organizer Instructional Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ด้วยการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ที่เรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้และชุดการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชางานประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก (Graphic Organizer Instructional Model) (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ (3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 20 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งเป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที (Paired Sample t-test)
 
          ผลการวิจัยพบว่า 
               1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชางานประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยวิธีการเชิงปริมาณพบว่า นโยบายของสถานศึกษา บรรยากาศขององค์กรนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยี และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย และมีความต้องการอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่เป็นปัญหา ได้แก่ ครูผู้สอนขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดเทคนิควิธีการสอนที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรค์
              2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชางานประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก (Graphic Organizer Instructional Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้: แสตดโก (STAD GO Model) (Student Teams and Achievement Divisions Graphic Model: STAD GO) ซึ่งมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 7 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นการชี้แจงวัตถุประสงค์/ทบทวนความรู้เดิม 2) ขั้นการนำเสนอบทเรียนทั้งชั้น 3) ขั้นกิจกรรมกลุ่มเพื่อศึกษากลุ่มย่อยและนำเสนอเนื้อหาด้วยแผนภาพความคิด 4) ขั้นการทดสอบย่อย/การทำความเข้าใจให้กระจ่าง 5) ขั้นการให้คะแนนความก้าวหน้าของแต่ละคน 6) ขั้นการนำเสนอปัญหาโดยแผนภาพเป็นกรอบในการแก้ปัญหา และ 7) ขั้นการยกย่องทีมที่มีคุณภาพ
            3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชางานประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก (Graphic Organizer Instructional Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชางานประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ และผลการตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบ โดยนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชางานประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ             E1 / E2 = 83.23/82.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อน และหลังเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.01
4. ผลการวัดความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชางานประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก (Graphic Organizer Instructional Model) พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.38

ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่ความยั่งยืน โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 24/มี.ค./2567
      การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนสร้างคนดีตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 18/มี.ค./2567
      การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเมืองพลพิทยาคมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) 8/มี.ค./2567
      การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 11/ก.พ./2567
      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 11/ก.พ./2567


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ wiscn@live.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป